วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดอกทิวลิป

   ดอกทิวลิป   



ดอกทิวลิป (Tulip) ดอกไม้เมืองหนาวออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์ทิวลิปมากกว่า 100 ชนิน เราจะเห็นทุ่งทิวลิปคุ้นตาตามหนังสือท่องเที่ยว และกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฮอลแลนด์ ใครที่เคยไปเยือนประเทศนี้ต้องเคยไปเที่ยวสวนเคอเคนฮอฟ ชานเมืองลิซเซ่ (Lisse) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกทิวลิปที่ใหญ่และสำคัญยิ่งของฮอลแลนด์ เมืองลิซเซ่อยู่ห่างจากอัมสเตอร์ดัมเพียง 29 กิโลเมตร
                    ดอกทิวลิป มีต้นกำเนิดที่ประเทศตุรกี เป็นดอกไม้ป่า ที่ขึ้นเองในธรรมชาติ สมัยโบราณเจ้าหน้าที่ตุรกีได้นำดอกทิวลิป มามอบให้กับทูตเวียนนา เพื่อไปปลูกยังประเทศออสเตรีย แต่มีคนสวนชาวฮอลแลนด์นำกลับมาปลูก และเพาะพันธุ์ และผสมพันธุ์ใหม่จนเกิดเป็นหลากหลายสี และหลายพันธุ์ การผสมพันธุ์ ดอกไม้ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาตินั้น จึงขัดต่อหลักศาสนา และถูกห้าม จึงทำให้หัวทิวลิปนั้นมีราคาแพง คนรวยในสังคมชั้นสูงจึงจะมีเงินซื้อมาปลูก และมีราคาแพงมากจนถูกห้ามปลูก ในอังกฤษ จากนั้นการเพาะพันธุ์ทิวลิป ได้รับการยอมรับและรัฐบาลสนับสนุน และเป็นสินค้าส่งออกทีสำคัญอย่างหนึ่งของ เนเธอร์แลนด์ ทิวลิปมากกว่าครึ่ง ส่งไปจำหน่ายท ี่อเมริกา
มีความหมายถึงการตกหลุมรักหัวปักหัวปำ ความรักที่ฉาบฉวยและจึดจางอย่างรวดเร็ว
ทิวลิปสีแดง "อยากให้โลกรู้ว่าฉันรักเธอ"
สีเหลือง มีหางเสียงเศร้าๆ ว่า "ฉันหมดหวังในรักเธอแล้วหรือไร"
ทิวลิปหลากสีในช่อเดียวกันหมายความว่า "ดวงตาแสนสวยของเธอทำให้ฉันคลั่งไคล้"



ทิวลิปดอกแรกที่ปรากฏอยู่ในตำนานนั้น ได้แก่ ดอกทิวลิปสีแดงสด ซึ่งชนชาวเปอร์เซียนโบราณเชื่อกันว่า เป็นสัญลักษณ์ของหยดเลือดและความรักอันจิรังกาล ที่พบอยู่เสมอในบทกวี บทเพลงพื้นบ้าน หรือในภาพเขียนลายเส้น หรือภาพสีน้ำมันของชาวเปอร์เซียนในยุคโบราณ ราชอาณาจักรตุรกียุคโบราณ (Ottoman Empire) ก็เคยใช้ดอกทิวลิปสีแดง เป็นสัญลักษณ์มาก่อนเช่นเดียวกัน ต่อมาความเชื่อนี้จึงค่อยแพร่ขยายเข้าไปสู่ในยุโรป แม้ในจักรวรรดิ์โรมัน ก็มีการใช้ดอกทิวลิปเป็นสัญลักษณ์ ขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์อีกด้วย
ประวัติและตำนานของดอกทิวลิปนั้นจึงมีอยู่มากมาย เพราะก่อนที่ทิวลิปจะเข้ามาสู่ในโลกของพฤกษศาสตร์ ชนหลายชาติก็เคยรู้จัก และเคยปลูกทิวลิปด้วยกันมาก่อนแล้วทั้งนั้น ใน Encyclopedia จึงอ้างว่า มนุษย์เรียกชื่อของทิวลิปแตกกันอยู่นั้นมีมากกว่า 4,000 ชื่อ แต่สำหรับทิวลิปพันธุ์ที่เรียกกันว่า “ทิวลิปา กีสนีเรียนา” นี้ ได้เริ่มเป็นที่รู้จักกันในยุโรปเมื่อ อาจารย์คอนแรดเกสเนอร์ (Conrad Gesner) นักพฤกษาวิทยาแห่งสวนพฤกษศาสตร์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เขียนเรื่องและรูปของทิวลิปพันธุ์นี้พิมพ์เผยแพร่ขึ้นในปีพ.ศ.2104 โดยที่พระอาจารย์เกสเนอร์
ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์ ครั้นต่อมาภายหลังพระอาจารย์ลินเนียส ก็ได้นำทิวลิปนี้ไปขึ้นทำเนียบไว้ในหนังสือ Systema Naturae ของท่านในพ.ศ. 2280 ทิวลิปต้นนี้ จึงได้นามว่าเป็นทิวลิปา กีสนีเรียนา มาตั้งแต่ในพุทธศกนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น