วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดอกเอื้องแซะ

ดอกเอื้องแซะ




 มีเรื่องเล่าขานเป๋นต๋ำนานของคนหนุ่มคนสาว ที่เฝ้าบ่มฮักและอยู่ในฮีตในฮอย หวังก่อร่างสร้างตั๋ว เข้าของเงินทองจ่งไจ้เขียมนักอีนางเฮย ปี้อ้ายขอลาไกล๋ไปแสวงหาเงินทองของหมั้น แล้วจะฝั้งปิ๊กมาหา ยกยอเอาสูเจ้าเป็นเมียนางจ้างแก้วสาวเจ้าหันดีหันงาม เข้าใจ๋ในเหตุในผล… “ไปเต๊อะปี้อ้ายเหย ข้าเจ้าจะรอ”…จากวันเป๋นเดือน จากเดือนล่วงเลยเป๋นหล๋ายปี๋ ปี้อ้ายคนดี ห่างหาย บ่ามีข่าวมีคราว แต่ด้วยใจ๋ตี่บริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยศรัทธา ยึดมั่นถือมั่นในความฮักของสาวเจ้าแม้แต่ปล๋ายก้อย ก็บ่เกยคิดฮ้าย ว่าปี้อ้ายคนดีจะนอกใจ๋ หรือล้มหายต๋ายจาก รอคอยด้วยใจ๋พิสุทธิ์ ยกมือไหว้สาผาธนาคุณผะเจ้า ช่วยชี้แนะนำตาง หื้อปี้อ้ายได้ปิ๊กคืน…
 จ๋นถึงวันเวลาที่นางต้องลาละสังขาร จิตวิญญาณยังผูกพันรอคอย ต๋ายไปแล้ว กล๋ายเป็นหมอกควันไปเกาะ ห่อหุ้ม แฝงจิตอยู่กับต้นดอกเอื้องแซะ เป๋นขนปุยห่อหุ้มกิ่งก้าน ยามเอื้องแซะดอกน้อยบาน กลิ่นหอมอ่อน ๆ จะลอยมาต๋ามลม เหมือนจะได้มาเหน็บแซมเสียบผมยามลมเดือนห้า

เอื้องแซะงามนัก ดอกน้อยสีขาวเรื่อเหลืองอยู่สูงและเป็นของสูงก้าแปงเมืองหายากยิ่งนัก กลิ่นก่อห้อม..ต้องใจ๋ จาวลัวะแต่โบราณนำเอามาเป็นเครื่องบรรณาการถวายแด่เจ้าครองเมือง คนต่ำใต้ลุ่มฟ้า อย่าหมายว่าจะได้ชมอ. มาลา คำจันทร์ ปราชญ์ล้านนา และกวีซีไรต์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของเอื้องแซะที่มีต่อวิถีชีวิตของคนล้านนา ว่า ดอกเอื้องแซะนั้นเป็นของสูง หายาก ต้องใช้ความพยายาม นาน ๆ ถึงจะได้เห็น ดังในสมัย รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ ชาวลัวะชาวดอย ต่างไปหา เอื้องแซะมาถวาย เพราะเป็นเอื้องที่มีกลิ่นหอมนาน ไม่เหมือนเอื้องทั่วไป

นอกจากนี้แล้วเอื้องแซะยังเคยใช้เป็นเครื่องบรรณาการ ระหว่างแม่ฮ่องสอนสู่เมืองเชียงใหม่ และเป็นเครื่องบรรณาการของล้านนาเพื่อมอบให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นเอื้องแซะจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ลึกลับ มีเสน่ห์ เป็นดอกไม้ต้องห้าม เป็นของสูงบนภูสูง.


 มีเรื่องเล่าขานเป๋นต๋ำนานของคนหนุ่มคนสาว ที่เฝ้าบ่มฮักและอยู่ในฮีตในฮอย หวังก่อร่างสร้างตั๋ว เข้าของเงินทองจ่งไจ้เขียมนักอีนางเฮย ปี้อ้ายขอลาไกล๋ไปแสวงหาเงินทองของหมั้น แล้วจะฝั้งปิ๊กมาหา ยกยอเอาสูเจ้าเป็นเมียนางจ้างแก้วสาวเจ้าหันดีหันงาม เข้าใจ๋ในเหตุในผล… “ไปเต๊อะปี้อ้ายเหย ข้าเจ้าจะรอ”…จากวันเป๋นเดือน จากเดือนล่วงเลยเป๋นหล๋ายปี๋ ปี้อ้ายคนดี ห่างหาย บ่ามีข่าวมีคราว แต่ด้วยใจ๋ตี่บริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยศรัทธา ยึดมั่นถือมั่นในความฮักของสาวเจ้าแม้แต่ปล๋ายก้อย ก็บ่เกยคิดฮ้าย ว่าปี้อ้ายคนดีจะนอกใจ๋ หรือล้มหายต๋ายจาก รอคอยด้วยใจ๋พิสุทธิ์ ยกมือไหว้สาผาธนาคุณผะเจ้า ช่วยชี้แนะนำตาง หื้อปี้อ้ายได้ปิ๊กคืน…
 จ๋นถึงวันเวลาที่นางต้องลาละสังขาร จิตวิญญาณยังผูกพันรอคอย ต๋ายไปแล้ว กล๋ายเป็นหมอกควันไปเกาะ ห่อหุ้ม แฝงจิตอยู่กับต้นดอกเอื้องแซะ เป๋นขนปุยห่อหุ้มกิ่งก้าน ยามเอื้องแซะดอกน้อยบาน กลิ่นหอมอ่อน ๆ จะลอยมาต๋ามลม เหมือนจะได้มาเหน็บแซมเสียบผมยามลมเดือนห้า

เอื้องแซะงามนัก ดอกน้อยสีขาวเรื่อเหลืองอยู่สูงและเป็นของสูงก้าแปงเมืองหายากยิ่งนัก กลิ่นก่อห้อม..ต้องใจ๋ จาวลัวะแต่โบราณนำเอามาเป็นเครื่องบรรณาการถวายแด่เจ้าครองเมือง คนต่ำใต้ลุ่มฟ้า อย่าหมายว่าจะได้ชมอ. มาลา คำจันทร์ ปราชญ์ล้านนา และกวีซีไรต์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของเอื้องแซะที่มีต่อวิถีชีวิตของคนล้านนา ว่า ดอกเอื้องแซะนั้นเป็นของสูง หายาก ต้องใช้ความพยายาม นาน ๆ ถึงจะได้เห็น ดังในสมัย รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ ชาวลัวะชาวดอย ต่างไปหา เอื้องแซะมาถวาย เพราะเป็นเอื้องที่มีกลิ่นหอมนาน ไม่เหมือนเอื้องทั่วไป

นอกจากนี้แล้วเอื้องแซะยังเคยใช้เป็นเครื่องบรรณาการ ระหว่างแม่ฮ่องสอนสู่เมืองเชียงใหม่ และเป็นเครื่องบรรณาการของล้านนาเพื่อมอบให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นเอื้องแซะจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ลึกลับ มีเสน่ห์ เป็นดอกไม้ต้องห้าม เป็นของสูงบนภูสูง.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น